เมื่อเร็วๆ นี้ ชาวบ้านชุมชนบ้านหัวลา อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน กว่า 200 คน ได้รวมตัวกันเพื่อยื่นหนังสือต่อคณะอุตสาหรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างเดินทางไปยังโรงเรียนบ้านห้วยมะกอก หมู่ที่ 4 ต.สันติคีรี อ.แม่ลาน้อย ในการจัดทำประชาพิจารณ์และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ในโครงการทำเหมืองแร่ฟลูออไรต์ ของบริษัทยูนิเวอร์แซลมายนิ่ง ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการขอประทานบัตรสัมปทานเหมืองแร่
ชุมชนบ้านหัวลา เป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง ตั้งอยู่ปลายแม่น้ำและเป็นเส้นทางผ่านของการขนส่งเหมืองแร่ แต่ที่ผ่านมาชุมชนกลับไม่เคยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโครงการสัมปทานเหมืองนี้เลย
ในวันนี้ยังมีชาวบ้านจากชุมชนอื่นๆ เช่นบ้านสันติพัฒนา บ้านสันติสุข ซึ่งเป็นชุมชนที่จะเผชิญชะตากรรมได้รับผลกระทบเช่นเดียว ชาวบ้านต่างเข้ามาร่วมสมทบยืนหยุดขบวนแสดงเจตตนาร่วมที่ไม่เห็นด้วยกับโครงการอุตสาหกรรมเหมืองแร่นี้
หนังสือที่ชาวบ้านได้ยื่นให้กับอุตสาหกรรมจังหวัด มีเนื้อหาสำคัญอยู่ 2 ประการ คือ 1. ขอให้อุตสาหรกรรมจังหวัดและผู้ที่เกี่ยวข้องยุติการทำประชาพิจารณ์ ในวันที่ 26 มิถุนายน 2565 และดำเนินการให้ข้อมูลเกี่ยวกับทำเหมืองให้กับทุกชุมชนที่อาศัยลุ่มน้ำแม่น้ำแม่ลาหลวง และแม่น้ำยวม ในการเกษตร อุปโภค บริโภค เพราะลุ่มแม่น้ำทั้งสองสายนี้เปรียบเสหมือนเส้นเลือดหลักสำคัญของชาวบ้านทั้งสามอำเภอ ได้แก่ อ.แม่ลาน้อย อ.แม่สะเรียง และอ.สบเมย 2. ขอเรียกร้องให้อุตสาหกรรมจังหวัดส่งเอกสาร EIA รวมทั้งเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับโครงการสัมปทานเหมืองมาชี้แจงให้ทุกชุมชนที่เกี่ยวข้องได้ศึกษาอย่างครบถ้วน ทั้งนี้การที่อุตสาหรรมจังหวัดจะเข้ามากระทำการใดในพื้นที่ต้องได้รับการยินยอมจากชุมชนก่อน
อีกหนึ่งข้อกังวล คือการจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของชาวบ้านนั้นรวมเฉพาะพื้นที่รัศมีบริเวณ 3 กิโลเมตรจากพื้นที่เหมืองเท่านั้น ส่วนชุมชนอื่นๆ อีกหลายสิบแห่ง ในสามอำเภอที่อยู่ริมน้ำแม่ลาหลวงและแม่น้ำยวมกลับถูกละเลย และชาวบ้านอีกจำนวนมากไม่ได้รับรู้ถึงความข้อมูลข่าวสารใดๆ
ดร.เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ นักวิชาการ กล่าวว่าชาวบ้านแม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องาอน ร่วมใจกันคัดค้านประทานบัตรเหมืองแร่ฟลูออไรด์ที่แม่ลาน้อยเพราะเจ็บช้ำกับอดีตอันขมขื่น เพราะสี่สิบกว่าปีก่อนเคยมีเหมืองแร่และส่งผลกระทบต่อลำน้ำและชีวิตชุมชนรุนแรงจึงเข็ดหลาบไม่ขอให้ทำอีก
“วันนี้อุตสาหกรรมจังหวัดจะมาจัดประชาพิจารณ์เรื่องนี้ผ่านขั้นตอนราชการหลายอย่างแต่ชาวบ้านไม่รู้เรื่อง ชาวบ้านจึงขอให้ยุติการจัดประชาพิจารณ์ด้วยเหตุผลว่ารู้กระทันหัน ชาวบ้านไม่พร้อม รับรู้ข้อมูลข่าวสารไม่เพียงพอ จึงขอให้ยุติการทำประชาพิจารณ์ไว้ก่อนและขอให้ส่งข้อมูลพร้อมรายงานอีไอเอมาให้ชาวบ้านศึกษาให้ดีก่อน ค่อยมาคุยกัน
“ฟังชาวบ้านให้เข้าใจนะครับ เขาใช้สันติวิธีต่อสู้เพื่อรักษาลำน้ำสายชีวิตของเขานะครับ เขามีบทเรียนในอดีตที่ขมขื่นไม่อยากให้เรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นซ้ำซากอีก ช่วยกันคิดช่วยกันคุยหาทางออกร่วมกันครับ
ประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นคือความมั่นคงของแผ่นดิน ตัดสินใจให้ดีๆ”
Comments