top of page

แถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่า ชะลอเขื่อนสาละวินในรัฐฉาน


9 มิถุนายน 2559


เครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำสาละวิน


ตามที่ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันที่ 10 มิถุนายนนี้ รัฐบาลไทยและรัฐบาลพม่าจะหารือแผนความร่วมมือด้านพลังงานระหว่าง 2 ประเทศ ที่ก่อนหน้านี้ไทยได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกับพม่า ใน การรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำมายตง กำลังการผลิต 6,000 เมกะวัตต์ และพม่ามีการปรับโครงสร้างกระทรวงพลังงานใหม่ หลังจากมีการเลือกตั้ง โดยจะหารือเรื่องที่ไทยมีสัญญารับซื้อจากพม่า ภายใต้แผนการรับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2015) ที่จะซื้อในสัดส่วน 15-20%


เครือข่ายภาคประชาชนที่ทำงานติดตามโครงการเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน มีความกังวลอย่างยิ่งต่อแผนการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินในพม่า โดยเฉพาะในพื้นที่ชนกลุ่มน้อย หรือกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเขื่อนมายตง หรือเขื่อนเมืองโต๋น จะก่อสร้างกั้นลำน้ำสาละวินที่ไหลผ่านใจกลางของรัฐฉาน ห่างจากชายแดนไทย ที่อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เพียงราว 40 กิโลเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ทางท้ายน้ำ คือแม่น้ำสาละวินที่ไหลเป้นพรมแดนไทย-พม่า บริเวณ อ.แม่สะเรียง และอ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ข้อกังวลดังกล่าวสรุปได้ดังนี้


1 เขื่อนมายตง จะสร้างบนพื้นที่ภาคกลางของรัฐฉาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ประชาชนกว่า 300,000 คน ได้เคยอาศัยอยู่ แต่ถูกกวาดล้างโดยรัฐบาลทหารพม่า ในช่วงปี 2539 โดยส่วนหนึ่งได้หนีภัยความตายมายังชายแดนไทย ที่ จ.เชียงใหม่ และยังคงไม่สามารถกลับคืนสู่ถิ่นฐานจนกระทั่งวันนี้ การก่อสร้างเขื่อนในบริเวณดังกล่าวจึงเท่ากับว่าทำให้บ้านของผู้ลี้ภัยเหล่านี้จมอยู่ใต้น้ำอย่างถาวร และยิ่งทำให้ความไม่สงบในรัฐฉานรุนแรงมากยิ่งขึ้นจากการลงทุนของไทย


2 พม่าหลังการเลือกตั้ง กำลังเดินสู่ถนนสายประชาธิปไตย และนางอองซานซูจี รัฐมนตรีที่ปรึกษาแห่งรัฐของพม่า ได้เสนอให้มีการเจรจากับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ และขณะนี้กระบวนการสันติภาพในพม่า กำลังดำเนินอยู่ หากประเทศไทยเข้าไปลงนามสัญญากับรัฐบาลพม่าในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในเวลานี้ อาจทำให้กระบวนการสันติภาพในรัฐฉานล้มแหลวลง ซึ่งขัดแย้งกับความคาดหวังของประชาคมโลก นอกจากนี้เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนในรัฐฉานซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เท่ากับฉวยโอกาสในขณะที่เจ้าของบ้านไม่อยู่


3 แม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ยังคงไหลอย่างอิสระ เป็นมรดกของภูมิภาคที่ 3 ประเทศ ควรร่วมกันรักษา ในประเทศไทยไม่มีอีกแล้วที่จะพบแม่น้ำที่ไหลอย่างเป็นธรรมชาติ และปกคลุมด้วยผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ ไม่สมควรที่ประเทศไทยจะลงทุนสร้างเขื่อน ที่จะเกิดผลกระทบรุนแรงและกว้างขวางต่อระบบนิเวศที่สำคัญระดับนานาชาติ


4 ตามที่คณะรัฐมนตรีไทยมีมติเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ว่า “รัฐควรมีหน้าที่ส่งเสริมให้เอกชนมีความรับผิดชอบต่อสังคมและเคารพหลักพื้นฐานด้านสิทธิมนุษยชนในการลงทุนทั้งที่เกิดในประเทศไทยและการลงทุนของผู้ลงทุนสัญชาติไทยในต่างประเทศ รวมทั้งทำการศึกษาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของโครงการต่างๆ รวมถึงจัดทำรายงานประจำปีหรือเปิดเผยข้อมูลที่มีสาระเกี่ยวกับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน” ดังนั้นพวกเราขอเรียกร้องให้กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำตามมติคณะรัฐมนตรีทันที


เครือข่ายฯ เรียกร้องให้ระงับโครงการเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำใดๆ บนแม่น้ำสาละวิน อย่างน้อยจนกว่าประชาชนในทั้ง 2 ประเทศจะสามารถมีส่วนร่วมต่อการจัดการทรัพยากรร่วมกันได้อย่างแท้จริง


และในโอกาสที่นางอองซานซูจีจะเดินทางมาประเทศไทยระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายนนี้ เครือข่ายขอเรียกร้องให้นางอองซานซูจี ในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญในรัฐบาลพม่าได้เห็นความสำคัญของวิถีชุมชนและทรัพยากรในลุ่มน้ำสาละวิน ที่มีความหลากหลายและมีทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญระดับนานาชาติ จึงควรปกป้องให้พ้นจากการลงทุนที่ขาดธรรมาภิบาล


Public Statement on Mong Ton Dam on the Salween/Thanlwin River


9 June 2016

The Network of People in Salween Basin


As revealed by the Permanent Secretary of the Ministry of Energy, on 10 June, the governments of Thailand and Myanmar are scheduled to discuss possible collaboration on energy between the two countries. Thailand has previously signed a Memorandum of Understanding (MoU) with Myanmar for the purchase of power generated by the proposed 6,000-megawatt Mong Ton Dam. Following the elections in Myanmar, the Ministry of Energy has been restructured. Negotiations between Thailand and the new government are forthcoming on Thailand’s purchase of power at the proposed ratio of 15-20%, indicated in the plans for foreign power import of Thailand’s Power Development Plan (PDP) 2015.


The People’s Network has closely followed proposals for hydropower development on the Salween River. We are gravely concerned about forthcoming plans to construct hydroelectric dams on the river in Myanmar, particularly those situated in the ethnic minority areas, including the Mai Tong or Mong Ton Dam, proposed for the stretch of the Salween passing through Shan State, only 70 kilometers from the border district of Chiang Dao, Chiang Mai Province. The downstream stretch of the Salween also forms the border between Thailand and Myanmar in Mae Sariang District and Sob Moei District, Mae Hong Son.


Our concerns can be summarized as follows;


1. The Mong Ton Dam, proposed for central Shan State, covers an area inhabited by over 300,000 people, many of whom were displaced by the persecution of the Myanmar army during massive forced relocations in 1996 under the previous military government. Many fled and sought refuge in the border areas with Thailand and due to ongoing conflict and unrest in Shan State have thus far been unable to return to their homelands. The status and situation of people displaced from Shan state must be addressed. Construction of the dam in the area would permanently inundate the lands of this displaced population, leaving many landless and stateless. Investment from Thailand in the Mong Ton project will trigger further violent unrest and upheaval in Shan State.


2. In the post-election era, Myanmar is progressing toward democracy. As the State Counsellor, Ms. Aung San Suu Kyi has opened talks with various ethnic groups. The ongoing peace-building process remains fragile and could be disrupted if Thailand concludes a deal with the government of Myanmar including contracts for large-scale investment projects such as the Mong Ton dam. The world is watching the decisions and steps taken by the new government to secure Myanmar’s future. Moving forward on a destructive project such as Mong Ton is contrary to the expectations of people in Myanmar and the global community. As well as further violating the rights of people in Shan State, it would be an opportunistic and exploitative act undertaken during the ongoing displacement of the area’s people.


3. The Salween is one of the only transboundary rivers in the region which remains free-flowing. It is the common heritage of three riparian countries and warrants preservation and protection. No other rivers in Thailand or the region continue to run free and support such lush and pristine forest areas and abundant biodiversity. In the absence of broader consultation and consensus, Thailand cannot simply press forward with a project that will cause severe and widespread impacts on a globally important ecological system.


4. According to a Thai cabinet resolution issued on 16 May 2016: “The state should ensure that the private sector is responsible to society and respects human rights during the course of their investments in Thailand and the investments of Thai investors in other countries. There should also be studies of impacts on human rights as a result of various projects and the production of annual reports or the disclosure of information concerning impacts on human rights.” We urge the Ministry of Energy and other the Thai agencies concerned to immediately act in compliance with the cabinet resolution. This means undertaking, and disclosing to the public, thorough assessments of the proposed Mong Ton dam’s human rights impacts on communities in Myanmar and Thailand before any decision is taken to proceed.


As Daw Aung San Su Kyi is visiting Thailand during June 23-25, we would like to request that she, as a leader of the Myanmar government, considers the importance of the Salween/Thanlwin River as the home of ethnic minority peoples and as an invaluable source of biodiversity and natural resources. The Salween/Thanlwin must be protected from unaccountable investment.


The Network demands the suspension of any hydropower projects in the Salween/Thanlwin River until all affected people in the two countries are provided an opportunity to meaningfully participate in decisions regarding the river’s future and the management of natural resources.





































Comments


bottom of page